วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาพจิตรกรรมที่วัดมหาธาตุ

จิตรกรรมฝาผนังพระปรางค์ วัดมหาธาตุ เป็นจิตรกรรมสมัยอยุธยา เขียนด้วย สีแดง สีชมพู สีส้ม สีขาว สีเหลือง และ สีดำ จากการวิเคราะห์โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และจากการศึกษาโครงสร้างของชั้นสีพบว่าสีแดงและสีส้มประกอบด้วยผงสีเหมือนกันแต่มีส่วนผสมต่างกัน ประกอบด้วยซึนนาบาร์เรดเลด ยิบซั่ม และควอท์ สีชมพูประกอบด้วยซึนนาบาร์ ยิบซั่ม และควอท์ สีเหลืองเชื่อว่าเป็นรง สีดำ ประกอบด้วยคาร์บอน รองพื้นและสีขาวเป็นวัสดุชนิดเดียวกันคือยิบซั่มและควอท์ ส่วนเทคนิคของจิตรกรรมเป็นแบบเทมเพอร่าโดยทายิบซั่มเป็นชั้นรองพื้นบนผนังก่อนแล้วจึงทาชั้นสีบนรองพื้น ยกเว้น สีดำซึ่งทาลงผนังโดยไม่มีรองพื้น

ที่มา : ชมพูนุช ประศาสน์เศรษฐ.(2528). รายงานการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์สีของจิตรกรรมฝาผนังที่พระปรางค์วัดมหาธาตุ ราชบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร. 
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พรานกะเหรี่ยง แห่งเทือกเขาตะนาวศรี

ภาพนี้ อ.วุฒิ บุญเลิศ ส่งเมล์มาให้ผม แจ้งว่าให้ผมลองเข้าไปค้นหา "พรานไพร ในภาพเก่า" ใน Google ดู ผมจึงได้พบภาพนี้  ซึ่งเป็นภาพของท่านเอง โพสต์เอาไว้เมื่อ เมื่อวันพุธที่ 26 ต.ค.2548  หัวข้อ แตกประเด็น : พรานไพร ในวารสารเมืองโบราณออนไลน์ หากท่านใดต้องการดูต้นฉบับสามารถคลิกไปได้ที่ http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=658 
อ.วุฒิ ฯ ได้อธิบายภาพไว้ดังนี้
"ร้านขายยาไทยสมบูรณ์ ในตลาดอำเภอเมืองราชบุรี แหล่งรับซื้อของป่าจากพรานกะเหรี่ยง  ในภาพจะเห็นพรานกะเหรี่ยงที่แบกหามของป่าเดินเท้ากว่าหกสิบกิโลเมตรจากเขตอำเภอสวนผึ้งผ่านจอมบึงเข้ามาตลาดราชบุรีแอ๊คท่าถ่ายภาพร่วมกับเจ้าของร้าน ที่โต๊ะเตี้ยด้านหน้าเป็นนอและเล็บแรดที่ล่าได้ ภาพนี้ถ่ายไว้ราว พ.ศ.๒๔๙๐ หรือก่อนหน้านั้น"
หากใครคลิกเข้าไปดูต้นฉบับ ท่านยังได้เขียนเรื่องราวอีกหลายอย่างต่อท้ายภาพนี้ ลองคลิกเข้าไปอ่านดูนะครับ และสาเหตุที่ผมตั้งชื่อภาพนี้ว่า "พรานกะเหรี่ยง แห่งเทือกเขาตะนาวศรี" เพราะท่าน อ.วุฒิฯ เป็นผู้แนะนำเองครับ
ที่มา
วุฒิ บุญเลิศ. (2548). แตกประเด็น : พรานไพรในภาพเก่า. วารสารเมืองโบราณ. [Online]. Available : http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=658. [2553 กรกฎาคม 6].
อ่านต่อ >>