วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เมืองราชบุรี..เคยมีหาดทราย


ผมได้เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ เรื่องราวเก่าๆ ของชาวเจ็ดเสมียน  เห็นภาพๆ นี้ เลยพยายามค้นหาดู พบว่าโพสต์อยู่ในเรื่องเด่นของในเว็บไซต์ Sky Web Radio Station หัวหิน แล้วเขียนตอนท้ายบทความไว้ว่า "นายรอบรู้"  จึงถือวิสาสะนำมาเผยแพร่ไว้ในบล็อกนี้อีกที พร้อมคัดลอกคำบรรยายใต้ภาพมาไว้ด้วยจะได้สมบูรณ์ ดังนี้

"คุณจะเชื่อไหมถ้าบอกว่า ที่กลางเมืองราชบุรีเคยมีชายหาดยาวเหยียดให้ชาวบ้านร้านถิ่นลงไปเล่นน้ำพักผ่อนอย่างสบายใจ

ถ้าไม่มีภาพเก่าภาพนี้เป็นประจักษ์พยานก็คงไม่มีใครเชื่อ และคิดไปว่าคงเป็นชายหาดริมทะเลอย่างหาดบางแสน หาดพัทยา แต่ชายหาดที่ว่านี้เป็นหาดทรายริมลำน้ำแม่กลองที่ไหลผ่านกลางเมืองราชบุรีนั่นเอง

ย้อนหลังไปราวสามทศวรรษที่ผ่านมา สมัยที่คุณแม่ยังสาว ริมลำน้ำแม่กลองยามน้ำลงจะเห็นหาดทรายยาวเหยียด มีพื้นที่กว้างขวางเป็นที่เล่นน้ำ นั่งพักผ่อนของคนในราชบุรี เป็นที่สำราญใจของคนหนุ่มราชบุรีบางคนที่มีฐานะมักขับเรือยนต์มาแอบมองสาวน้อยสาวใหญ่ลงเล่นน้ำ อย่างที่เห็นในภาพนี้เป็นญาติของทันตแพทย์ณรงค์ชัย อิมราพร ซึ่งได้ค้นหาภาพนี้มาให้ "นายรอบรู้" สะพานที่เห็นอยู่ลิบๆ นั้นคือสะพานจุฬาลงกรณ์ในตัวเมืองราชบุรี

ชายหาดเมืองราชบุรีเหลือเพียงตำนานเล่าขาน อันเป็นผลจากการดูดทรายในท้องน้ำไปขายอย่างขนานใหญ่ พร้อมกับการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์แถบเมืองกาญจน์ กรวดทรายที่เคยพัดพามากับน้ำก็ถูกกักไว้ด้วยสันเขื่อน วันนี้ลำน้ำแม่กลองน้ำเต็มเปี่ยม บางช่วงเกือบล้นขึ้นมาบนฝั่ง ริมตลิ่งมีคอนกรีตป้องกันการพังทลายจากแรงน้ำ จึงไม่แปลกถ้าจะมีใครไม่เชื่อว่า ที่ราชบุรีเคยมีชายหาด"

ที่มาของภาพ
อ่านต่อ >>

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาคารเรียนเก่าโรงเรียนสุริยวงศ์ (พ.ศ.2479)

ปี ค.ศ.1936 (พ.ศ.2479) คณะกรรมการโรงเรียนสุริยวงศ์ โดยนายเทียนกู่  ศิลปโอสถ เป็นประธาน และนายเล็ก  นุปิยะ เป็นเลขานุการ นายพ่วง  อรรฆภิญญ์ เป็นเหรัญญิก รวมทั้งนักเรียนได้เรี่ยไรเงิน และรื้ออาคารอรุณประดิษฐ จ.เพชรบุรี มาสร้างเป็นเรือนไม้ปั้นหยา 2 ชั้น มีห้องเรียน 6 ห้อง มีหน้ามุข 2 ห้อง เป็นห้องพักครู ที่ทำงานครูใหญ่ และห้องรับแขก

ที่มาของข้อมูลและภาพ
โรงเรียนสุริยวงศ์. (2553). 121 ปี โรงเรียนสุริยวงศ์. เพชรบุรี : เพชรภูมิการพิมพ์. (หน้ารองปกใน, 31)
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาพศาลเจ้าแม่เบิกไพร จากสมุดราชบุรี (พ.ศ.2468)

ศาลเจ้าแม่เบิกไพร จังหวัดราชบุรี
ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 168-169 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468
อ่านต่อ >>

ภาพพระแท่นดงรัง จังหวัดราชบุรี จากสมุดราชบุรี (พ.ศ.2468)

ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 166-167 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468
อ่านต่อ >>

ภาพพระปรางวัดน่าพระธาตุ จากสมุดราชบุรี (พ.ศ.2468)

ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 164-165 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468
อ่านต่อ >>

ภาพสพาน จุฬาลงกรณ์ จากสมุดราชบุรี (พ.ศ.2468)

ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 144-145 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468
อ่านต่อ >>

ภาพการทอผ้าของลาวโซ่ง จากสมุดราชบุรี (พ.ศ.2468)

การทอผ้าของพวกลาวโซ่ง
ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 132-133 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468
อ่านต่อ >>

ภาพการเผาถ่าน จากสมุดราชบุรี (พ.ศ.2468)

การเผาถ่าน
ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 128-129 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468
อ่านต่อ >>

ภาพการทำปูนขาว จากสมุดราชบุรี (พ.ศ.2468)

การทำปูนขาว ที่จังหวัดราชบุรี
ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 120-121 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468
อ่านต่อ >>

ภาพหลักเมือง จังหวัดราชบุรี จากสมุดราชบุรี (พ.ศ.2468)

ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 28-29 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468
อ่านต่อ >>

ภาพทุ่งเขางู จากสมุดราชบุรี (พ.ศ.2468)

ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 152-153 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468
อ่านต่อ >>

ภาพรัชกาลที่ 6 จากสมุดราชบุรี (พ.ศ.2468)

อ่านต่อ >>

ภาพชุดชาวเกรี่ยงจาก สมุดราชบุรี (พ.ศ.2468)

ชายชาวเกรี่ยง  มณฑลราชบุรี
ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 12-13 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468

หญิงชาวเกรี่ยง  มณฑลราชบุรี
ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 16-17 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468

ชาวเกรี่ยง มณฑลราชบุรี
ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 20-21 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468

ระบำเกรี่ยง
ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 22-23 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468

การฟ้อนรำของชาวเกรี่ยง
ภาพนี้แทรกระหว่างหน้า 24-25 ในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468 
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาพถ่ายพระปรางค์วัดมหาธาตุ สมัยรัชกาลที่ 6


ภาพถ่ายพระปรางค์วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.ราชบุรี
ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 6
(ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
อ่านต่อ >>

ศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเดิม (ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2503)


อาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเดิม ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2503

ที่มาของภาพ
มโน กลีบทอง. (2544). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี และจังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมาพันธ์. (หน้า 88)
อ่านต่อ >>

สนามหญ้า พ.ศ.2508 (ภาพสี)


"อาลูน" ที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชหัตเลขาบรรยายถึง
ในการเสด็จประพาสเมืองราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.2452
ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "สนามหญ้า" ถ่ายเป็น ส.ค.ส.เมื่อปี 2508

ที่มาของภาพ
มโน กลีบทอง. (2544). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี และจังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมาพันธ์. (หน้า 116)
อ่านต่อ >>

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัดนักบุญยอแซฟ พ.ศ.2478

วัดนักบุญยอแซฟ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
สร้างใน พ.ศ.2478
อ่านต่อ >>

ภาพวาดขุนอนุศาสตร์ประชากร


รูปวาดขุนอนุศาสตร์ประชากร (นายเล้ง  ซุ่นทรัพย์)
เจ้าของตลาดคุ้งพยอมคนแรก
อ่านต่อ >>

ภาพถ่ายคนไทย ต.บ้านกล้วย

ภาพถ่ายคนไทย ตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
อ่านต่อ >>

ภาพชุดนาคชาวมอญ

ชุดนาคที่ชาวมอญนิยมแต่งให้สวยงาม
เลียนแบบเจ้าชายสิทธัตถะ (พระพุทธเจ้า) ก่อนออกผนวช
อ่านต่อ >>

โรงเรียนวัดม่วง (หลังแรก) พ.ศ.2465


ภาพโรงเรียนหลังแรกที่พระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ (หลวงปู่เข็ม)
ชวนชาวบ้านกับทางจังหวัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2465
ใช้ชื่อว่า โรงเรียนวัดม่วง (ศรีประชา)
เป็นโรงเรียนหลังแรกที่ใช้เรียนแทนศาลาวัด
แต่ถูกรื้อทิ้งลงเมื่อปี พ.ศ.2520 แล้วสร้างโรงเรียนหลังใหม่ขึ้น
อ่านต่อ >>

ภาพถ่ายงานศพหลวงปู่เข็ม วัดม่วง


งานศพหลวงปู่เข็ม  ที่วัดม่วง พ.ศ.2476

รายชื่อพระอาจารย์ต่างๆ เรียงจากขวาไปซ้าย (นั่ง)
  1. พระครมูล (วัดหนองปลาหมอ)
  2. พระครูหลวงปู่ศร (วัดบัวงาม)
  3. พระอาจารย์เปีย (วัดบ้านหม้อ)
  4. พระครูหลวงปู่กล่อม (วัดขนอน)
  5. หลวงปู่เหี้ยน (วัดม่วง)
  6. อาจารย์จู (วัดท่าผา)
แถวยืนเรียงจากขวาไปซ้าย
  1. พระใหม่
  2. พระอาจารย์ดวง
  3. อาจารย์โต๊ะ (วัดท่าผา)
  4. เจ้าคณะอำเภอเก่าอาจารย์ผัน
  5. อาจารย์โวะ
  6. อาจารย์นาค (วัดตาล)
  7. กำนันจิ๋ว
  8. พระใหม่
  9. กำนันเติม กรดเครือ
อ่านต่อ >>

ภาพถ่ายหลวงปู่เข็ม วัดม่วงกับบรรดาลูกศิษย์

ภาพถ่ายหลวงปู่เข็ม (องค์กลางแถวนั่ง)
กับหลวงปู่ปากกิเลน (องค์ที่ 2 จากขวานั่งติดกับหลวงปู่เข็ม)
อาจารย์โวะ (แถวนั่งขวาสุด)
กับบรรดาลูกศิษย์

อ่านต่อ >>

ภาพปูนปั้นนักดนตรีหญิง

ภาพปูนปั้นนักดนตรีหญิง สมัยทวารวดีที่คูบัว
อ่านต่อ >>

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาพวาดพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ฉี่ บุนนาค) ฝีพระหัตถ์ ร.6

ภาพวาดฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ฉี่ บุนนาค)
เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง “ราชบุระมณฑล”

พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ฉี่ บุนนาค)

ที่มา :
Pongphun Chaigul. (2552). คุณตาทวดของผม พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ฉี่ บุนนาค). [Online]. Available : http://pongphun.wordpress.com/2009/04/23. [2553.สิงหาคม 22].
อ่านต่อ >>

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาพจิตรกรรมที่วัดมหาธาตุ

จิตรกรรมฝาผนังพระปรางค์ วัดมหาธาตุ เป็นจิตรกรรมสมัยอยุธยา เขียนด้วย สีแดง สีชมพู สีส้ม สีขาว สีเหลือง และ สีดำ จากการวิเคราะห์โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และจากการศึกษาโครงสร้างของชั้นสีพบว่าสีแดงและสีส้มประกอบด้วยผงสีเหมือนกันแต่มีส่วนผสมต่างกัน ประกอบด้วยซึนนาบาร์เรดเลด ยิบซั่ม และควอท์ สีชมพูประกอบด้วยซึนนาบาร์ ยิบซั่ม และควอท์ สีเหลืองเชื่อว่าเป็นรง สีดำ ประกอบด้วยคาร์บอน รองพื้นและสีขาวเป็นวัสดุชนิดเดียวกันคือยิบซั่มและควอท์ ส่วนเทคนิคของจิตรกรรมเป็นแบบเทมเพอร่าโดยทายิบซั่มเป็นชั้นรองพื้นบนผนังก่อนแล้วจึงทาชั้นสีบนรองพื้น ยกเว้น สีดำซึ่งทาลงผนังโดยไม่มีรองพื้น

ที่มา : ชมพูนุช ประศาสน์เศรษฐ.(2528). รายงานการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์สีของจิตรกรรมฝาผนังที่พระปรางค์วัดมหาธาตุ ราชบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร. 
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พรานกะเหรี่ยง แห่งเทือกเขาตะนาวศรี

ภาพนี้ อ.วุฒิ บุญเลิศ ส่งเมล์มาให้ผม แจ้งว่าให้ผมลองเข้าไปค้นหา "พรานไพร ในภาพเก่า" ใน Google ดู ผมจึงได้พบภาพนี้  ซึ่งเป็นภาพของท่านเอง โพสต์เอาไว้เมื่อ เมื่อวันพุธที่ 26 ต.ค.2548  หัวข้อ แตกประเด็น : พรานไพร ในวารสารเมืองโบราณออนไลน์ หากท่านใดต้องการดูต้นฉบับสามารถคลิกไปได้ที่ http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=658 
อ.วุฒิ ฯ ได้อธิบายภาพไว้ดังนี้
"ร้านขายยาไทยสมบูรณ์ ในตลาดอำเภอเมืองราชบุรี แหล่งรับซื้อของป่าจากพรานกะเหรี่ยง  ในภาพจะเห็นพรานกะเหรี่ยงที่แบกหามของป่าเดินเท้ากว่าหกสิบกิโลเมตรจากเขตอำเภอสวนผึ้งผ่านจอมบึงเข้ามาตลาดราชบุรีแอ๊คท่าถ่ายภาพร่วมกับเจ้าของร้าน ที่โต๊ะเตี้ยด้านหน้าเป็นนอและเล็บแรดที่ล่าได้ ภาพนี้ถ่ายไว้ราว พ.ศ.๒๔๙๐ หรือก่อนหน้านั้น"
หากใครคลิกเข้าไปดูต้นฉบับ ท่านยังได้เขียนเรื่องราวอีกหลายอย่างต่อท้ายภาพนี้ ลองคลิกเข้าไปอ่านดูนะครับ และสาเหตุที่ผมตั้งชื่อภาพนี้ว่า "พรานกะเหรี่ยง แห่งเทือกเขาตะนาวศรี" เพราะท่าน อ.วุฒิฯ เป็นผู้แนะนำเองครับ
ที่มา
วุฒิ บุญเลิศ. (2548). แตกประเด็น : พรานไพรในภาพเก่า. วารสารเมืองโบราณ. [Online]. Available : http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=658. [2553 กรกฎาคม 6].
อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด "อาคารเฉลิมราช"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิด "อาคารเฉลิมราช" เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2512 ณ โรงพยาลแม่และเด็ก ราชบุรี (ปัจจุบันคือ โรงพยาลาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี)



ศูนย์อนามัยที่  4 ราชบุรี ต้องการตามหาเด็กที่ก้มกราบพระบาทในภาพ
หากใครรู้จัก หรือทราบว่าเป็นใครกรุณาแจ้งให้ทราบด้วย จะได้จัดทำเป็นประวัติสำคัญต่อไป 



อ่านต่อ >>

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การทำเหมืองแร่ดีบุกที่ อ.สวนผึ้ง

การทำเหมืองแร่ดีบุก อำเภอสวนผึ้งในอดีต แรงน้ำจากกระบอกฉีดจะพังทลายชั้นดินหินแร่
แล้วถูกสูบส่งขึ้นหัวรางแร่ น้ำและตะกอนดินทรายจะไหลลงท้ายราง


น้ำพัดหินดินทรายไหลไปตามความลาดของรางแร่ เหลือเม็ดแร่ดีบุกตกหนักบนพื้นราง
น้ำท้ายรางถูกกักเก็บใช้งานอีกหลายครั้ง โบราณวัตถุต่างๆ จึงพบจากการทำเหมืองแร่


เหมืองแร่บางแห่งอยู่ไกลแหล่งน้ำมาก ต้องวางท่อเหล็กสูบน้ำส่งมา
เพื่อฉีดพังทลายชั้นดินจนถึงชั้นดินกะสะที่มีแร่ดีบุก ซึ่งเป็นชั้นเดียวกับที่พบเครื่องมือหินชนิดต่างๆ

ที่มา :
สุรินทร์ เหลือลมัย. (2550). โครงการสืบค้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นราชบุรี "เครื่องมือหิน (สมัยก่อนประวัติศาสตร์) ในราชบุรี". สภาวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี. (หน้า 3-5)

อ่านต่อ >>

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หอนาฬิกาหรือสนามหญ้า (ภาพถ่าย ส.ค.ส.2508)

หอนาฬิกาหรือสนามหญ้า (ภาพถ่าย ส.ค.ส.2508)
ที่มา : ยนต์ ชุ่มจิต. (2547).ประวัติศาสตร์เมืองราชบุรี. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. (หน้า 74)

อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สถานีรถไฟบ้านโป่ง 2488

ภาพถ่าย สถานีรถไฟบ้านโป่ง เดือนกันยายน 2488
สถานีรถไฟบ้านโป่งอยู่ห่างจากสถานีหนองปลาดุก 5 กิโลเมตร เป็นจุดแรกเริ่มของการเดินเท้าของการก่อสร้างเส้นทางรถไฟไทย-พม่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นักโทษเชลยศึกสงครามที่เดินทางมาจากสิงค์โปร์ต้องมาสิ้นสุดที่ สถานีรถไฟบ้านโป่ง หลังจากนั้น พวกเชลยศึกจะเริ่มต้นเดินเท้า มาที่ค่ายของพวกเขาตามเส้นทางก่อสร้างรถไฟ บางคนโชคดีเดินทางระยะสั้นโดยรถบรรทุก แต่ที่เดินเท้ามามากที่สุด ได้แก่ กองกำลังเอฟ ("F" Force) ถูกบังคับให้เดินเป็นระยะทางกว่า 300 กิโลเมตร โดยกินระยะเวลาเพียงแค่ 20 วัน การเดินเท้าส่วนมากจะเดินในตอนกลางคืน เพื่อหลีกเหลี่ยงอากาศที่ร้อนจัดของเดือนมีนาคม
ที่มา : เจ พี. (______). เส้นทางรถไฟสายมรณะ สะพานข้ามแม่น้ำแคว. (หน้า 11)
อ่านต่อ >>

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตลาดน้ำดำเนินในอดีต

ตลาดน้ำดำเนินสะดวกในอดีต
เจ้าของภาพ : ณรงค์ชัย อิมราพร
ที่มา : สุดารา สุจฉายา.(2541). ราชบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สารคดี. (หน้า 29)
อ่านต่อ >>

เรือพระที่นั่ง เสด็จประพาสต้น ร.5


ขบวนเสด็จประพาสต้น รัชกาลที่ 5
ในทุ่งเขางู จ.ราชบุรี
ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
เจ้าของภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
อ่านเพิ่มเติม : พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับราชบุรี
ที่มา : สุดารา สุจฉายา.(2541). ราชบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สารคดี. (หน้า 28)
อ่านต่อ >>

รถเมล์โบราณ

เจ้าของภาพ : ศูนย์วัฒนธรรม โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
ที่มา : สุดารา สุจฉายา.(2541). ราชบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สารคดี. (หน้า 25)

อ่านต่อ >>

ไห สินค้าหลักของราชบุรี

ก่อนราชบุรีจะผลิตโอ่งมังกร ไหถือเป็นสินค้าหลักที่ส่งไปขายตามโรงงานทำน้ำปลา
เจ้าของภาพ : สำนักมิสซัง สังฆมณฑลราชบุรี
ที่มา : สุดารา สุจฉายา.(2541). ราชบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สารคดี. (หน้า 202)
อ่านต่อ >>

หนึ่งในพระยามอญทั้งเจ็ด

หนึ่งในพระยามอญทั้งเจ็ด-พระบันนสติฐบดี (ชัง)
เจ้าเมืองท่าขนุน คนสุดท้าย
เจ้าของภาพ : ผู้ใหญ่ขจิต หลักคงคา
อ่านเพิ่มเติม : วัดคงคารามและพระยามอญทั้งเจ็ด
ที่มา : สุดารา สุจฉายา.(2541). ราชบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สารคดี. (หน้า 119)
อ่านต่อ >>

การทำเหมืองดีบุกที่บ่อคลึง

การทำเหมืองดีบุกที่บ่อคลึง ใช้วิธีการแบบเหมืองแล่น แยกแร่ออกจากหินดินทรายในรางแร่
เจ้าของภาพ : เทอดศักดิ์ โมนยะกุล
ที่มา : สุดารา สุจฉายา.(2541). ราชบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สารคดี. (หน้า 88)
อ่านต่อ >>