วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

สถานีรถไฟราชบุรี

ภาพชายไม่ทราบชื่อ ขี่จักรยานบนถนนเล็กๆ ด้านข้างทางรถไฟ บริเวณสถานีรถไฟราชบุรีด้านทิศใต้ จะมองเห็นป้ายชื่อสถานีรถไฟอันเดิมอยู่ด้านหลัง และแท็งค์น้ำสูงที่อยู่ปลายสุดในแนวต้นไม้ทางขวามือ ทางรถไฟสายใต้ตัดผ่านเมืองราชบุรีตั้งแต่ปี พ.ศ.2444 ในยุดแรกหัวรถจักรเป็นรถไอน้ำ ใช้ความดันของไอน้ำเป็นแรงในการขับเคลื่อน สถานีรถไฟตามหัวเมืองต่างๆ จึงมีแท็งค์น้ำไว้สำหรับเติมน้ำให้หัวรถจักร ต่อมาในปี พ.ศ.2477 จึงได้เริ่มมีการนำหัวรถจักรดีเซลเข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งข้อดีของรถดีเซล คือ มีกำลังแรงและวิ่งได้เร็วกว่ารถไฟไอน้ำ อีกทั้งไม่มีควันพ่นขโมงจากฟืนที่ใช้ต้มน้ำให้เดือดเป็นไอปลิวเข้ามาในโบกี้ ทำให้เปรอะเป้อนเสื้อผ้าข้าวของผู้โดยสารได้ รถไฟไอน้ำได้เลิกใช้ไปในช่วงหลัง พ.ศ.2500 เป็นต้นมา แต่เรายังคงพบเห็นแท็งค์น้ำแบบนี้ได้อยู่ ตามสถานีรถไฟใหญ่ๆ ในบางแห่งและที่สถานีรถไฟราชบุรีก็ยังคงมีแท็งค์น้ำนี้อยู่ในปัจจุบัน
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 93).
-เจ้าของภาพ : รศ.ปิญากรณ์ ชุตังกร
อ่านต่อ >>

จอมพลถนอมฯ เที่ยวสวนองุ่น ดำเนินสะดวก

นายอวยชัย แซ่ลิ้ม ในฐานะสื่อมวลชนท้องถิ่นและชาวสวนดำเนินสะดวก ถ่ายรูปร่วมกับจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในคราวที่มาเยี่ยมชมสวนองุ่นแห่งหนึ่งในอำเภอดำเนินสะดวก ภาพนี้ถ่ายไว้ราวปี พ.ศ.2500 กว่าๆ ก่อนปี พ.ศ.2510
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 29).
-เจ้าของภาพ : อวยชัย แซ่ลิ้ม ห้องภาพนิวเทคนิค
อ่านต่อ >>

สะพานจุฬาลงกรณ์

สะพานจุฬาลงกรณ์

ภาพนายโจวหยิม แซ่ตั้ง บิดา รศ.ปิญากรณ์ ชุตังกร ถ่ายรูปคู่สะพานจุฬาลงกรณ์ สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองที่ตัวเมืองราชบุรี นายโจวหยิม เกิดเมื่อปี พ.ศ.2449 อพยพจากเมืองแต้จิ๋ว มณฑลกว่างตง ประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ.2469 ภาพนี้น่าจะถ่ายตั้งแต่ครั้งที่เข้ามาประเทศไทยที่เมืองราชบุรีในระยะแรกๆ และก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่งกายแบบหนุ่มๆ ชาวไทยเชื้อสายจีนนิยมแต่งกันในขณะนั้น สวมกางเกงแพรใส่เสื้อเชิร์ตแขนสั้น ชายเสื้อใส่ไว้ในกางเกงและคาดเข็มขัดทับโชว์ ให้เห็นเข็มขัด
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 47,92).
-เจ้าของภาพ (บน) : ไม่ทราบ
-เจ้าของภาพ (ล่าง) : รศ.ปิญากรณ์ ชุตังกร
อ่านต่อ >>

วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

ชุดภาพถ่ายของวัดมหาธาตุวรวิหาร

ขุดภาพถ่ายของวัดมหาธาตุวรวิหารที่ได้รวบรวมนำมาเผยแพร่ในที่นี้ เป็นภาพถ่ายเหตุการณ์
ในช่วงสมัยพระธรรมเสนานี เป็นเจ้าอาวาส ในราวปี พ.ศ.2497

วัดมหาธาตุวรวิหาร ถ่ายจากด้านทิศเหนือ ในราวปี พ.ศ.2501

พระภิกษุและสามเณรวัดมหาธาตุวรวิหาร ร่วมกันถ่ายรูปหมู่ประจำพรรษา ปี พ.ศ.2503 หน้าพระวิหารหลวงพ่อมงคลบุรี ก่อนการบูรณปฏิสังขรณ์ระเบียง ในภาพยังเห็นเจดีย์บนฐานด้านหน้าวิหาร ปัจจุบันเจดีย์ได้ปรักหักพังไปไม่มีแล้ว วิหารหลังนี้ เคยใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนพระอภิธรรมราชบุรี

พระพุทธรูปสมัยทวารวดี ที่พบจากวัดร้างอยู้ใกล้วัดเพรง (ร้าง) อยู่ทางเหนือของวัดมหาธาตุ ค้นพลเมื่อปี พ.ศ.2496 พบพระพุทธรูปหินสมัยทวารวดี ถึง 4 องค์ ได้แก่ พระพุทธรูปประทับยืน 2 องค์ และพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ 2 องค์ และได้นำมาประดิษฐานไว้ในวัดมหาธาตุ ต่อมาภายหลังพระพุทธรูปประทับยืนได้ถูกขโมยไปลักตัดเศียรไปทั้ง 2 องค์ เหลือแต่เพียงท่อนองค์ ปัจจุบันได้นำไปประดิษฐานรวมกันไว้ที่ด้านหลังของพระประธาน ส่วนพระพุทธรูปประทับนั่งอีก 2 องค์ ยังมีสภาพสมบูรณ์ ได้นำมาประดิษฐานไว้บนฐานด้านหน้าของพระประธาน

พระพุทธรูปศิลปะทวารวดี พบจากวัดร้างใกล้วัดเพรง(ร้าง) และได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นองค์ที่มีจารึกคาถา เย ธมมา ที่ด้านหลัง รูปนี้ถ่ายไว้ขณะที่พระพุทธรูปยังประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ และยังมีพระเศียรอยู่ครบ

พระพุทธรูปศิลปะทวารวดี พบที่วัดร้างใกล้วัดเพรง (ร้าง) ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในพระอุโบสถวัดมหาธาตุวรวิหาร


พระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานบัว 2 ชั้น ศิลปะแบบทวารวดี พบจากวัดร้างใกล้วัดเพรง(ร้าง) ปัจจุบันนำมาประดิษฐานไว้บนฐานพระประธานด้านหน้าซ้าย ภายในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ

พระราชธรรมเสนานี ศรีวิสุทธิปฎิภาณ สุขุมญาณสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุวรวิหาร รูปที่ 4 (พ.ศ.2495-พ.ศ.2503) ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช เมื่อปี พ.ศ.2500 และนับเป็นพระราชาคณะชั้นราชองค์แรกของจังหวัดราชบุรี นั่งอยู่หน้าพระประธานภายในพระอุโบสถของวัด เมื่อปี พ.ศ.2497 ทางด้านซ้าย-ขวา ด้านหน้าพระประธานจะสังเกตเห็นพระพุทธรูปประทับยืนสมันทวารวดี ทั้ง 2 องค์ ที่พบที่วัดเพรง(ร้าง) และองค์ซ้ายมือ คือ องค์ที่มีคาถา เย ธมมา ที่ด้านหลัง ยังคงมีพระเศียรอยู่ครบสมบูรณ์


สามเณรน้อย ยืนถ่ายรูปที่ด้านหน้าวิหารหลวงพ่อมงคลบุรี น่าจะถ่ายอยู่ในช่วงหลังปี พ.ศ.2494 จะสังเกตเห็นหลวงพ่อมงคลบุรี ยังทาสีขาวทั้งองค์และจีวรทาสีเหลือง มาในปี พ.ศ.2538 จึงได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ และทาเป็นสีดำทั้งองค์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

พระธรรมเสนานี เจ้าคณะจังหวัดราชบุรีและเจ้าอาวาวัดมหาธาตุวรวิหาร เปิดอบรมพระที่จะเป็นอุปัชฌาย์ ที่วัดบ้านโป่ง เมื่อปี พ.ศ.2497


พระสงฆ์ที่เข้าอบรมพระอุปัชฌาย์ที่วัดบ้านโป่ง เมื่อปี พ.ศ.2497 พระที่เข้าอบรมนี้ จะต้องเป็นพระระดับเจ้าคณะตำบลขึ้นไป อบรมหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์

พระสมุห์สุชาติ เขมมะปัญโญ ขณะทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดราชบุรี กำลังอ่านรายงานในงานอบรมพระอุปัชฌาย์ที่วัดบ้านโป่ง เมื่อปี พ.ศ.2497
พระสุมห์สุชาติ ต่อมาคือพระครูบวรธรรมสมาจาร รองเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี และอดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองราชบุรี พระสมุห์สุชาติบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดปากท่อ และย้ายมาอยู่ที่วัดมหาธาตุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ท่านเป็นผู้ที่จัดตั้งโรงเรียนพระอภิธรรมและศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน ขึ้นภายในวัดมหาธาตุ เป็นการสืบทอดเจตนารมมณ์ของหลวงพ่อธรรมเสนานี ที่ต้องการให้วัดมหาธาตุราชบุรี สมบูรณ์พร้อมทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เป็นไปตามแบบแผนของวัดในพระพุทธศาสนาทุกประการ
พระครูบวรธรรมสมาจาร มรณภาพเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2530

การอบรมพระภิกษุเรื่องการอุปสมบทที่วัดโพธาราม อ.โพธาราม เมื่อปี พ.ศ.2497

พระภิกษุสงฆ์ถ่ายรูปร่วมกันหลังเสร็จการอบรม

หลวงอินทเขมา(เปาะ) หรือ พระราชเขมาจารย์ วัดช่องลม อดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองราชบุรีและที่ปรึกษาเจ้าคณธจังหวัดราชบุรีในขณะนั้น ถ่ายรูปในงานทอดกฐิน วัดปากท่อ เมื่อปี พ.ศ.2495



งานทอดกฐินของวัดปากท่อ ราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.2495

ฐานรากของตึกธรรมเสนานี ภายในวัดมหาธาตุ ขณะกำลังก่อสร้างประมาณ ปี พ.ศ.2494
ตึกธรรมเสนานี (สุข) โรงเรียนปริยัติธรรมของวัดมหาธาตุ เริ่มสร้างในสมัยของพระธรรมเสนานี ในราวปี พ.ศ.2494 การก่อสร้างดำเนินการเป็นระยะๆ ไม่ได้สร้างจนแล้วเสร็จในคราวเดียว จนกระทั่งปี พ.ศ.2497 ก็ยังไม่แล้วเสร็จดี แต่ก็พอใช้งานได้ มาแล้วเสร็จสมบูรณ์ในสมับของเจ้าอาวาสองค์ต่อมา คือ พระเทพวิสุทธิโมลี


เมรุและเตาเผาของวัดมหาธาตุ เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว
เมรุเผาศพของวัดมหาธาตุแห่งนี้ คุณหลวงบุรณเวชวาณิชย์ เจ้าของห้างบริบูรณ์โอสถ กรุงเทพฯ เป็นผู้สร้างถวายให้แก่วัด เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 17 พ.ค.2495 และเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 30 มี.ค.2496 สิ้นเงินในการสร้าง 131,571.45 บาท


ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 33-43).
-เจ้าของภาพ : วัดมหาธาตุวรวิหาร

อ่านต่อ >>

ภาพถ่ายพระจำเนียรอักษร

ภาพถ่ายพระจำเนียรอักษร อัดบนกระดาษอัดรูปที่ทำเป็นโปสการ์ด ที่มุมขวาด้านล่างของภาพมีลายมือเขียนชื่อ พระจำเนียรอักษร ไว้อย่างชัดเจน ส่วนด้านหลังมีลายมือเขียนไว้เช่นกัน ระบุวัน เดือน ปี และสถานที่ถ่ายภาพไว้แน่นอน คือ ถ่ายเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2467 ที่หน้าที่ทำการ ณ ค่ายหลวงบ้านโป่ง ซึ่งตรงกับช่วงรัชกาลที่ 6 และในสมัยของพระองค์นั้น ได้โปรดเกล้าให้มีการจัดตั้งกองทหารเสือป่าขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2454 หลังจากที่ทรงครองราชย์ได้เพียง 5 เดือน ด้วยทรงมีพระประสงค์ที่ต้องการให้เจ้านาย ข้าราชการ พ่อค้าและสามัญชนทั่วไป มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมอย่างทหาร เพื่อการเตรียมความพร้อมไว้ สำหรับการป้องกันรักษาดินแดนไทยในโอกาสที่จำเป็น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้เสด็จจังหวัดราชบุรีเกือบทุกปี เพื่อทำการซ้อมรบเสือป่าในท้องที่บ้านโป่ง เจ็ดเสมียนและโพธาราม และพระจำเนียรอักษร ในภาพนี้ คงเป็นข้าราชการในพระองค์ที่ติดตามมาในการซ้อมรบเสือป่าที่ค่ายหลวงบ้านไร่ ปี พ.ศ.2467 นั้นเอง
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 106).
-เจ้าของภาพ : สาธิต เกียรติสุพิมล
อ่านต่อ >>

ท่าเรือเทศบาลเมืองราชบุรี ถนนวรเดช

นายสุรินทร์ วิรุฬห์วชิระ กับรถเข็นขายน้ำ
นายสุรินทร์เป็นพ่อค้าขายน้ำเก๊กฮวย ใบบัวบก จับเลี้ยง ลำไย ขายประจำอยู่ที่ด้านหน้าท่าเรือเทศบาลเมืองราชบุรี ขายตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยงวัน ซึ่งคนตลาดและผู้คนที่รู้จักหรือลูกค้าทั่วไปจะรู้จักกับนายสุรินทร์ในนาม " ตาปลิวเลี้ยงจุ๋ย" คำว่า เลี้ยงจุ๋ย เป็นภาษาจีนแต้จิ๋วแปลว่าเก๊กฮวย นั่นเอง ด้วยน้ำเก๊กฮวยของนายสุรินทร์นั้นเป็นที่ขึ้นชื่อมากในเรื่องของความหอมและอร่อย ภาพนี้ถ่ายไว้เมื่อราว 60 ปีที่แล้ว ปัจจุบันนายสุรินทร์เสียชีวิตแล้ว

ในเวลาบ่ายถึงเย็น นายสุรินทร์จะเข็นรถน้ำไปขายที่บริเวณหัวมุมของโรงแรมกวงฮั้ว หัวถนนศรีมหาเกษตร ฝั่งถนนอัมรินทร์ และในภาพนายสุรินทร์กำลังมองยืนคนงานของเทศบาลกำลังขุดพื้นถนนและทางเดินเท้าเพื่อวางท่อประปาและท่อระบายน้ำใหม่ภายในตลาดเมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว


ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 107).
-เจ้าของภาพ : นางกิมลั้ง วิรุฬห์วชิระ
อ่านต่อ >>

รถสองแถวบ้านโป่ง

สุภาพบุรุษไม่ทราบชื่อแอ๊คท่า ถ่ายภาพคู่กับรถสองแถวของตลาดบ้านโป่ง เมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 102).
-เจ้าของภาพ : รศ.ปิญาภรณ์ ชุตังกร
อ่านต่อ >>

ถนนขาดที่บ้านเกาะ

ถนนจากบ้านเกาะถึงตลาดบ้านกลาง ต.จอมบึง อ.จอมบึง เป็นส่วนหนึ่งของถนนสายราชบุรี-จอมบึง ปัจจุบันคือถนนหลวงสาย 3087 แต่เดิมเป็นถนพูนดินและเป็นทางที่น้ำไหลผ่าน จากฝั่งเหนือลงสู่บึงใหญ่บ้านเกาะ ในช่วงฤดูน้ำหลากทำให้ถนนขาดอยู่เนืองๆ สร้างความยากลำบากให้แก่บรรดารถบรรทุกแร่จากเหมือง และรถขนไม้ซุงในบริเวณนั้น ที่ต้องจ้างชาวบ้านขนย้ายของข้ามฝาก จนกระทั่งในปี พ.ศ.2497 ได้มีการก่อตั้งวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึงขึ้น จึงได้มีการปรับปรุงผิวถนนให้เป็นดินลูกรังอัดแน่น และเว้นทางน้ำให้ไหลลงบึงใหญ่ได้ เรียกว่า ถนนขาด ดังที่เห็นในภาพ ภูเขาด้านหลัง คือ เขากลางเมือง หรือ เขาจอมพล
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 85).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย

อ่านต่อ >>

เหมืองแร่ดีบุกที่สวนผึ้ง

รัฐบาลได้ให้สัมปทานในการทำเหมืองแร่ดีบุกในเขต อ.สวนผึ้ง เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2456 ในสมัยรัชกาลที่ 6 และพื้นที่ที่มีเหมืองแร่มากที่สุดได้แก่ ทุ่งเจดีย์ เขากระโจม ห้วยลันดา ห้วยบ่อน้อย และบ่อคลึง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการเหมืองแร่ได้ซบเซาและหยุดชะงักลงไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังคงมีการทำต่อมาอีกในภายหลัง จนกระทั่งมาเฟื่องฟูสุดขีดอีกครั้งในช่วงปี พ.ศ.2522-2528 หลังจากนั้นราคาดีบุกได้ลดต่ำลงจนกระทั่งไม่คุ้มทุน ทำให้เหมืองแร่หลายแห่งทยอยปิดตัวลง มาในปี พ.ศ.2534 รัฐบาลจึงได้ยกเลิกสัมปทานเหมืองแร่ทั้งหมดใน อ.สวนผึ้ง การทำเหมืองแร่ใน อ.สวนผึ้งกว่า 78 ปีจึงได้ยุติลง ในภาพเป็นเหมืองแร่ดีบุกของ บริษัท โลหะศิริ จำกัด ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2517
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 85).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย
อ่านต่อ >>

วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553

รถเมล์จอมบึง

รถเมล์สายจอมบึง-ราชบุรี หัวรถเมล์ดัดแปลงมาจากรถจิ๊ปสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนตัวถังต่อตัวถังเป็นโครงไม้และหลังคาบรรทุกของได้ คิวรถเดิมอยู่หน้าโรงเรียนบ้านจอมบึง ระยะทางสามสิบกิโลเมตร ใช้เวลาวิ่งขนส่งผู้โดยสาร บรรทุกถ่านไม้ หน่อไม้ดอง เมล็ดละหุ่ง ฯลฯ บนถนนลูกรังเป็นหลุมเป็นบ่อกว่าสองชั่วโมง
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 85).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย
อ่านต่อ >>

โรงเรียนบ้านชัฎใหญ่ ป่าช้างดงเสือ

บริเวณบ้านชัฎใหญ่ในอดีตนั้น เป็นป่ารกชัฎที่อุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด จนคนทั่วไปจะเรียกว่า "ป่าช้างดงเสือ" เมื่อมีการอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนของชาวไทยยวนจาก อ.เมืองราชบุรี ในราวปี พ.ศ.2475 จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านชัฎใหญ่" เมื่อมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น ชาวบ้านได้ขออนุญาตทางอำเภอจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2499 ในภาพชาวบ้านและครูใหญ่คนแรกและเป็นครูเพียงคนเดียวของโรงเรียน คือ นายสังข์ ศรัทธาผล (จากขวาไปซ้ายคนที่ 3) ได้ร่วมกันถ่ายภาพเป็นที่ระลึกหน้าอาคารเรียนชั่วคราวของโรงเรียนบ้านชัฎใหญ่ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2499
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 82).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย
อ่านต่อ >>

ด่านประตูสามบาน

เสาประตูข้างหนึ่งของด่านประตูสามบาน บริเวณติดกับด่านเจ้าเขว้า ริมห้วยบ้านด่าน หมู่ 2 ต.ป่าหวาย อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2511 ในหนังสือสมุดภาพราชบุรี ได้กล่าวถึงด่านประตูสามบานไว้ว่า เมื่อเกิดศึกบางแก้ว ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พม่ายกทัพเข้ามาทางด่านประตูสามบาน ด่านเจ้าเขว้า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองราชบุรีที่ลำน้ำชี ระยะทางเดิน 2 วัน ปัจจุบันเสาประตูดังกล่าวนี้ได้หักหายไปแล้ว
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 84).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย
อ่านต่อ >>

นักสต๊าฟสัตว์แห่งจอมบึง

ในช่วงหลังปี พ.ศ.2509 เป็นต้นมา ทุกอำเภอใน จ.ราชบุรี จะต้องไปร่วมงานออกร้านในงานสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งทุกอำเภอจะมอบให้คณะครูและภารโรงเป็นผู้ไปดำเนินการตกแต่งร้านขายของเป็นส่วนใหญ่ และอำเภอจอมบึงก็เช่นกัน ได้มอบหมายให้คณะครูของโรงเรียนบ้านจอมบึง (วาปีพร้อมประชาศึกษา) นำโดย อาจารย์ประสาท อรรถกรศิริโพธิ์ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านจอมบึงในขณะนั้น ได้คิดสร้างสินค้าเด่นของร้านขึ้น โดยได้ฝึกหัดทำสัตว์สต๊าฟขนาดเล็ก ได้แก่ ลูกเป็ด ลูกไก่ และนกขึ้น เพื่อนำไปจำหน่ายภายในร้าน
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 83).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย
อ่านต่อ >>

โรงเรียนจอมบึง พ.ศ.2505

ถ่ายจากด้านหลังโรงเรียนจอมบึง เมื่อปี พ.ศ.2505 ชายทุ่งหลังโรงเรียนจอมบึง (ปัจจุบันเป็นโรงอาหารโรงเรียน) มองเห็นท้องบึงและเขาทะลุได้ชัดเจน ในช่วงฤดูน้ำหลากน้ำจะเจิ่งนองไปทั่วท้องทุ่ง กลายเป็นทะเลสาบขนาดย่อม แต่ปัจจุบันท้องบึงมีสภาพแห้งแล้งน้ำไม่หลากเข้าทุ่งอีกแล้ว
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 82).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย
อ่านต่อ >>

ซอกระบอก

ลุงทองเหลืองและซอกระบอก ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2510 ลุง(พุ่ง)ทองเหลือง ชาวไทยกระเหรี่ยงบ้านบึง ต.สวนผึ้ง อ.จอมบึง (กิ่ง อ.บ้านค่า) จ.ราชบุรี เป็นผู้ที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นในการคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรี ทำจากกระบอกไม้ไผ่มีคัยชักแบบซอทั่วไป เรียกกันว่า ซอกระบอก ชาวไทยกะเหรี่ยงในอดีตจะรู้จักประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ ไม้ไผ่ แต่ปัจจุบันเครื่องดนตรีเหล่านั้นมีการดัดแปลงใช้วัสดุอื่นๆ เข้ามาแทนที่ ซอกระบอกของลุงทองเหลืองจึงยังคงหาดูได้แต่ในพิพิธภัณฑ์โรงเรียนสวนผึ้งวิทยาเท่านั้น
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 82).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย

อ่านต่อ >>

วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

กะเหรี่ยงโพล่ง

กะเหรี่ยงโพล่ง บ้านทุ่งแฝก ต.สวนผึ้ง อ.จอมบึง (อ.สวนผึ้ง ในปัจจุบัน) จ.ราชบุรี ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2499 ในภาพจะเห็นการแต่งตัวของชาวกะเหรี่ยงทั้งชายหญิง คนแก่และเด็กในอดีตได้ครบถ้วน ผู้ชายสวมเสื้อดำแบบชายชาวโซ่ง แต่ยังคงโพกผ้าแบบทวาย และไว้ผมแบบงวงช้าง นุ่งผ้าโจงกระเบนตามแบบหลวงคีรีมาตย์ผู้นำชาวกะเหรี่ยงที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายด่าน ในสมัย ร.5 ส่วนผู้หญิงใส่เสื้อนุ่งซิ่นแบบดั้งเดิม ส่วนสาวๆ จะมีผ้าแถบห่มทับเฉียง สวมเครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 82).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย
อ่านต่อ >>

วิทยาลัยจอมบึง 2499

ภาพวิทยาลัยจอมบึง หรือมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงในปัจจุบัน ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2499 เป็นภาพที่ถ่ายจากเขาจอมพล ทำให้เห็นบริเวณวิทยาลัยจอมบึงในขณะนั้นได้ทั้งหมด อาคารตรงกลางภาพ คือ ตึกอำนวยการ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 81).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553

น้ำท่วมห้วยท่าช้าง ด่านทับตะโก

น้ำท่วมห้วยท่าช้าง ต.ด่านทับตะโก อ.จอมบึง จ.ราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.2512 ในปีนั้นได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฏรและไร่นาที่ทำกินในบริเวณหมู่บ้านด่านทับตะโก ทุ่งกระถิน หนองสีนวล ทุ่งแหลมฯ
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 81).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย
อ่านต่อ >>

ภาพชาวกะเหรี่ยงวัดบ้านบ่อ

คณะข้าราชการศึกษาธิการ จ.ราชบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี ถ่ายภาพร่วมกับครูโรงเรียนวัดบ้านบ่อและสาวชาวกะหรี่ยง ที่หน้าเสาเจดีย์พุทธแบบกะเหรี่ยงภายในวัดบ้านบ่อ ต.สวนผึ้ง ในคราวไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนในราวปี พ.ศ.2511 คนที่ 2 จากซ้ายไปขวา คือนายแพทย์สมนึก วิทิศวรการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรีในขณะนั้น เป็นบุคคลที่ชาวกะเหรี่ยงให้ความเคาระนับถือและเรียกว่า "คุณพ่อ" เนื่องจากเป็นผู้ที่ช่วยชีวิตชาวกะเหรี่ยงที่ป่วยเป็นไข้มาเลเรียไว้เป็นจำนวนมาก หากคนไหนมีอาการหนักก็จะอุปการะส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลเสมอ
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 80).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย
อ่านต่อ >>

ภาพการสงเคราะห์ของมูลนิธิประชานุกูลราชบุรี

ภาพการสงเคราะห์เก็บศพผู้ยากไร้ ทางมูลนิธิประชานุกูลราชบุรี จะให้ความช่วยเหลือโดยนำไปฝังไว้ที่สุสานของมูลนิธิที่อยู่ฝั่งตรงข้ามตลาดศรีเมืองในปัจจุบัน






ภาพสุสานจีนของมูลนิธิประชานุกูลราชบุรี บริเวณฝั่งตรงข้ามกับตลาดศรีเมืองปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่






คณะกรรมการมูลนิธิประชานุกูลราชบุรี ถ่ายภาพร่วมกันที่ด้านหน้าอาคารที่ทำการมูลนิธิ

ประธานมูลนิธิมอบเงินช่วยเหลือแก่สาธารณะกุศล

ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 71-75).
-เจ้าของภาพ : มูลนิธิประชานุกูล
อ่านต่อ >>