พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสวยพระกระยาหารเช้า บริเวณลานหน้าบันไดขึ้นสู่ถ้ำมุจลินทร์ เขากลางเมือง ปัจจุบันคือ ถ้ำจอมพล เขาจอมพล ต.จอมบึง จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2438 ในภาพรัชกาลที่ 5 ประทับอยู่หัวโต๊ะสวมพระมาลา ฉายพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประทับบนแคร่ไม้เหนือปากถ้ำจอมพล ท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารในการเสด็จประพาสถ้ำจอมพล เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2438 และโปรดฯให้ช่างสลักพระปรมาภิไธยย่อ "จปร.๑๑๔" ไว้เหนือปากถ้ำ นับเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ที่ 21 นอกจากนี้ยังทรงพระอักษรพระราชทานนามถ้ำว่า "ถ้ำจอมพล" และโปรดฯ ให้ช่างสลักตัวอักษรแล้วทรงฉายพระรูปที่ปากถ้ำตรงที่สลักตัวอักษรนั้น (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเขาวังสะดึง เมื่อวันที่ 12 ต.ค.2442 ขบวนเรือพระที่นั่งเสด็จประพาสออกจากท่าพลับพลาค่ายหลวงหลุมดิน เข้าคลองข้างวัดหลุมดิน ผ่านเข้าทุ่งอรัญญิก เสด็จขึ้นประพาสบนเขาวังสะดึง โดยประทับบนแคร่หามขึ้นไป จนถึงหน้าผาที่ทางการเตรียมราวบันไดและแคร่ไม้เป็นที่ประทับ โปรดฯ ให้ช่างสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร.๑๑๘ ไว้ที่หน้าผา นับเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ที่ 33
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสถ้ำสาริกา (เดิมชื่อถ้ำหนองตีเหล็ก) ต.ธรรมเสน อ.โพธาราม เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2442 ในช่วงเวลาที่เสด็จประพาสนั้น เป็นฤดูน้ำหลากทุ่งเขางู ขบวนเรือพระที่นั่งออกจากพลับพลาค่ายหลวงหลุมดิน เสด็จประพาสถ้ำหนองตีเหล็ก ทอดพระเนตรภายในถ้ำจนทั่วแล้วจึงเสด็จขึ้นมาประทับที่แคร่ไม้ปากถ้ำ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถ้ำใหม่ว่า ถ้ำสาริกา แล้วโปรดฯ ให้ช่างสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร.๑๑๘ ไว้เหนือปากถ้ำ นับเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ที่ 34
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระราชโอรสและข้าราชการบริพารบริเวณพระราชวังบนเขาสัตตนารถ(เขาวัง ราชบุรี) (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระราชโอรสและข้าราชบริพาร บริเวณเขางู ราชบุรี
แถวนั่งจากซ้ายไปขวา ม.ร.ว.ฉายฉาน ศิริวงษ์ ม.จ.ไศลทอง ทองใหญ่ ม.จ.ทองต่อ ทองแถม คุณเทิน บุนนาค กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
แถวยืน จากซ้ายไปขวา กรมพระกำแพงเพ็ชร์อัครโยธิน พระยาสุริยานุวัตร์(เกิด บุนนาค) กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดช พระยาสุรเสนา(กลิ่น แสงชูโต) เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระยาบุรุษรัตนราชวัต กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กรมหลวงนครไชยศรี (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
ขบวนเรือเสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองราชบุรี ผ่านบริเวณทุ่งเขางู ในคราวเสด็จประพาสวังสะดึงและถ้ำสาริกาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อเดือน ต.ค.2442 ในอดีตทุ่งเขางู ในช่วงฤดูน้ำหลาก จะมีน้ำหลากเข้าทุ่งจนเจิ่งนองกลายเป็นทะเลสาบย่อมๆ อยู่นานหลายเดือน และจะมีงานเทศกาลไหว้พระในหน้าน้ำประมาณเดือน ก.ค.ถึงเดือน พ.ย. แต่ปัจจุบันน้ำไม่หลากเข้าท่วมทุ่งเขางูอีกต่อไปแล้ว นับตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 เป็นต้นมา (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
ข้าราชการเตรียมเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการเสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ เมืองราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.2444 (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองที่เมืองราชบุรี ในวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเปิดเมื่อ พ.ศ.2444 และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "สะพานจุฬาลงกรณ์"
ขบวนรถไฟพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่สถานีรถไฟราชบุรี ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทำพิธีเปิดสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ เมื่อปี พ.ศ.2444 พระองค์เจ้าอุรุพงศ์สมโภช ผู้ตามเสด็จทรงยืนอยู่ทางขวา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประทับบนแคร่ไม้เหนือปากถ้ำจอมพล ท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารในการเสด็จประพาสถ้ำจอมพล เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2438 และโปรดฯให้ช่างสลักพระปรมาภิไธยย่อ "จปร.๑๑๔" ไว้เหนือปากถ้ำ นับเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ที่ 21 นอกจากนี้ยังทรงพระอักษรพระราชทานนามถ้ำว่า "ถ้ำจอมพล" และโปรดฯ ให้ช่างสลักตัวอักษรแล้วทรงฉายพระรูปที่ปากถ้ำตรงที่สลักตัวอักษรนั้น (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเขาวังสะดึง เมื่อวันที่ 12 ต.ค.2442 ขบวนเรือพระที่นั่งเสด็จประพาสออกจากท่าพลับพลาค่ายหลวงหลุมดิน เข้าคลองข้างวัดหลุมดิน ผ่านเข้าทุ่งอรัญญิก เสด็จขึ้นประพาสบนเขาวังสะดึง โดยประทับบนแคร่หามขึ้นไป จนถึงหน้าผาที่ทางการเตรียมราวบันไดและแคร่ไม้เป็นที่ประทับ โปรดฯ ให้ช่างสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร.๑๑๘ ไว้ที่หน้าผา นับเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ที่ 33
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสถ้ำสาริกา (เดิมชื่อถ้ำหนองตีเหล็ก) ต.ธรรมเสน อ.โพธาราม เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2442 ในช่วงเวลาที่เสด็จประพาสนั้น เป็นฤดูน้ำหลากทุ่งเขางู ขบวนเรือพระที่นั่งออกจากพลับพลาค่ายหลวงหลุมดิน เสด็จประพาสถ้ำหนองตีเหล็ก ทอดพระเนตรภายในถ้ำจนทั่วแล้วจึงเสด็จขึ้นมาประทับที่แคร่ไม้ปากถ้ำ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถ้ำใหม่ว่า ถ้ำสาริกา แล้วโปรดฯ ให้ช่างสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร.๑๑๘ ไว้เหนือปากถ้ำ นับเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ที่ 34
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระราชโอรสและข้าราชการบริพารบริเวณพระราชวังบนเขาสัตตนารถ(เขาวัง ราชบุรี) (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระราชโอรสและข้าราชบริพาร บริเวณเขางู ราชบุรี
แถวนั่งจากซ้ายไปขวา ม.ร.ว.ฉายฉาน ศิริวงษ์ ม.จ.ไศลทอง ทองใหญ่ ม.จ.ทองต่อ ทองแถม คุณเทิน บุนนาค กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
แถวยืน จากซ้ายไปขวา กรมพระกำแพงเพ็ชร์อัครโยธิน พระยาสุริยานุวัตร์(เกิด บุนนาค) กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดช พระยาสุรเสนา(กลิ่น แสงชูโต) เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระยาบุรุษรัตนราชวัต กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กรมหลวงนครไชยศรี (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
ขบวนเรือเสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองราชบุรี ผ่านบริเวณทุ่งเขางู ในคราวเสด็จประพาสวังสะดึงและถ้ำสาริกาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อเดือน ต.ค.2442 ในอดีตทุ่งเขางู ในช่วงฤดูน้ำหลาก จะมีน้ำหลากเข้าทุ่งจนเจิ่งนองกลายเป็นทะเลสาบย่อมๆ อยู่นานหลายเดือน และจะมีงานเทศกาลไหว้พระในหน้าน้ำประมาณเดือน ก.ค.ถึงเดือน พ.ย. แต่ปัจจุบันน้ำไม่หลากเข้าท่วมทุ่งเขางูอีกต่อไปแล้ว นับตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 เป็นต้นมา (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
ข้าราชการเตรียมเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการเสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ เมืองราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.2444 (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองที่เมืองราชบุรี ในวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเปิดเมื่อ พ.ศ.2444 และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "สะพานจุฬาลงกรณ์"
ขบวนรถไฟพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่สถานีรถไฟราชบุรี ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทำพิธีเปิดสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ เมื่อปี พ.ศ.2444 พระองค์เจ้าอุรุพงศ์สมโภช ผู้ตามเสด็จทรงยืนอยู่ทางขวา
ข้าราชการยืนแถวเฝ้ารอรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่สถานีรถไฟราชบุรี
กองดุริยางค์รอรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ จ.ราชบุรี
ประชาชนเฝ้ารอรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการเสด็จประพาสเมืองราชบุรี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กำลังสนพระทัยในการถ่ายรูปสถานที่ขณะเสด็จประพาสเมืองราชบุรี (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองราชบุรี มีพระยาไกรเพ็ชรรัตนสงคราม (แฉ่ บุนนาค) สมุหเทศาภิบาล มณฑลราชบุรี ยืนรับเสด็จอยู่ทางซ้ายของภาพ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสวัดมหาธาตุวรวิหาร ราชบุรี เมื่อวันที่ 4 ก.พ.2431 และได้ทรงพระราชนิพนธ์คำกลอนบรรยายถึงวัดมหาธาตุในบทพระราชนิพนธ์ตามเสด็จไทรโยค ครั้งที่ 3 ไว้ว่า พระองค์ได้เสด็จฯ เข้าไปในวัดมหาธาตุทางทิศตะวันออก และยังได้ทรงบรรยายสภาพวัดมหาธาตุไว้อย่างละเอียด " ...พระมหาธาตุตั้งหลังวิหาร อย่างโบราณแบบเขมรเช่นแต่ก่อน ตรงด้านหน้าคูหาสักสองตอน บันไดจรขึ้นได้ที่ในองค์.." และ "....พระรเบียงรอบห้อมล้อมจังหวัด สี่เหลี่ยมชัดช่องประตูอยู่ด้านหน้า ด้านอื่นไปไม่มีทางเข้ามา พระศิลแดงตั้งผนังราย..."
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับราชบุรี
ที่มา : พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 11-19).
พระราชวังบนเขาสัตตนารถ ก่อนหน้าที่จะสร้างพระราชวังนั้น เดิมมีวัดตั้งอยู่บนยอดเขาวัดหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้น จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และเจ้าพระยาภาณุวงศ์ มหาโกษาธิบดี ผาติกรรมที่ธรณีสงฆ์ โดยย้ายวัดไปสร้างใหม่ที่บริเวณวัดร้างริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง และพระราชทานนามว่า "วัดสัตตนารถปริวรรต"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประทับ ณ พระราชวังบนเขาสัตตนารถแห่งนี้ครั้งหนึ่ง ในคราวที่เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสไทรโยค แล้วเสด็จออกรับราชฑูตโปรตุเกสที่เข้าเฝ้าถวานพระราชสาสน์ เมื่อปี พ.ศ.2420 ภายหลังพระราชวังแห่งนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก และต่อมาได้มีพระธุดงค์มาใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม พร้อมกับดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่เป็นวัดนามว่า "วัดเขาวังราชบุรี" และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2453
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประทับ ณ พระราชวังบนเขาสัตตนารถแห่งนี้ครั้งหนึ่ง ในคราวที่เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสไทรโยค แล้วเสด็จออกรับราชฑูตโปรตุเกสที่เข้าเฝ้าถวานพระราชสาสน์ เมื่อปี พ.ศ.2420 ภายหลังพระราชวังแห่งนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก และต่อมาได้มีพระธุดงค์มาใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม พร้อมกับดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่เป็นวัดนามว่า "วัดเขาวังราชบุรี" และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2453
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับราชบุรี
ที่มา : พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 11-19).
3 ความคิดเห็น:
คุณรวบรวมได้ละเอียดมากครับ เป็นประโยชน์มาก ผมขอชื่นชมจากใจจริง อ่านง่ายและสะอาดตา ทุกๆอย่าง ดีที่สุดที่เคยอ่านเว็ปประวัติราชบุรีมาเลยครับ
มีประโยชน์มากเลยค่ะ ผู้จัดทำเก่งมากเลยค่ะ ทำเพื่อสืบสานประวัติศาสตร์ จังหวัดราชบุรี ขอบคุณนะค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ
เป็นความรู้ที่ดีมากสำหรับคนราชยุรีครับ
แสดงความคิดเห็น