รัฐบาลได้ให้สัมปทานในการทำเหมืองแร่ดีบุกในเขต อ.สวนผึ้ง เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2456 ในสมัยรัชกาลที่ 6 และพื้นที่ที่มีเหมืองแร่มากที่สุดได้แก่ ทุ่งเจดีย์ เขากระโจม ห้วยลันดา ห้วยบ่อน้อย และบ่อคลึง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการเหมืองแร่ได้ซบเซาและหยุดชะงักลงไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังคงมีการทำต่อมาอีกในภายหลัง จนกระทั่งมาเฟื่องฟูสุดขีดอีกครั้งในช่วงปี พ.ศ.2522-2528 หลังจากนั้นราคาดีบุกได้ลดต่ำลงจนกระทั่งไม่คุ้มทุน ทำให้เหมืองแร่หลายแห่งทยอยปิดตัวลง มาในปี พ.ศ.2534 รัฐบาลจึงได้ยกเลิกสัมปทานเหมืองแร่ทั้งหมดใน อ.สวนผึ้ง การทำเหมืองแร่ใน อ.สวนผึ้งกว่า 78 ปีจึงได้ยุติลง ในภาพเป็นเหมืองแร่ดีบุกของ บริษัท โลหะศิริ จำกัด ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2517
ที่มา :
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 85).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย
-พูลศรี จีบแก้ว.(2552). ภาพเก่าเล่าอดีต. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 85).
-เจ้าของภาพ : อ.สุรินทร์ เหลือละมัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น